ดัดแปลงมาจากคอมเมนต์นี้ https://www.facebook.com/groups/919377878100706/permalink/1121787907859701/?comment_id=1121803797858112&reply_comment_id=1121826181189207
หลังจากที่ผมโพสว่า Clojure สอนผม ว่าผมจะอยู่ร่วมกับ side-effects ได้อย่างไร
พี่มาคอมเมนต์ Patraphong Sukhonpitumart ถามว่า
clojure สอนยังไง มีตัวอย่างมั้ยครับ
ผมเลยตอบว่า
ที่ผมพอจะนึกออกตอนนี้ ไม่ได้ exclusive สำหรับ clojure นะครับ
- สอนให้ model domain เป็น value ไม่ใช่ object มันเหมาะกับแนวคิด bounderies (Functional Core, Imperative Shell) มาก
- แยกที่เก็บ mutable data (atom) ให้ชัดเจน เราจะเรียกใช้แก้ไขมันเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ก็จะบอกว่าพยายามให้มีให้น้อยที่สุด
- ไม่มีคนทำ ORM แล้วประสบความสำเร็จ
- Referential transparency จะใช้ไม่ได้ถ้ามี side-effects ฟังก์ชันอย่าง memoize ก็จะทำงานผิด ถ้าไม่สนใจเรื่องนี้
- ความที่เราสามารถทำ side-effect ในฟังก์ชันได้ตามใจ แต่เค้าก็จะบอกว่าไม่ควรทำ เช่น ฟังก์ชันที่ใช้ update ค่าให้ atom (เพราะมันไม่การันตีว่าจะถูกเรียกแค่ครั้งเดียว)
- ไม่สร้างความยุ่งยากให้เราหากเราจะทำ side-effects ง่ายๆ เช่น เราอยากจะ println เมื่อไหร่ก็ได้ ไม่โดน type บังคับ
- พวก React wrapper ก็จะบอกให้เราระวังเรื่อง state โดยที่บางตัวก็ strict บางตัวก็ปล่อยหลวมๆ
- def เป็น mutable เพราะมันไม่จำเป็นต้อง immutable
- do, doseq ทำให้เรารู้ว่าเราทำ side-effects อยู่นะคือ ผมมีโอกาสเลือกอยู่เสมอว่าผมจะทำ side-effects ได้ แต่ผมก็จะเห็นชัดเจนว่าถ้าผมทำแล้วปัญหาที่ตามมาคืออะไร